RESOURCES

OEE คืออะไร? เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย Overall Equipment Effectiveness

Written by Vikan Chirawatpongsa | 30/06/24 11:24

ในยุคที่การผลิตต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น OEE หรือ Overall Equipment Effectiveness (ประสิทธิผลโดยรวมของอุปกรณ์) ได้กลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่ช่วยให้โรงงานสามารถมองเห็นและวิเคราะห์จุดอ่อนในกระบวนการผลิต ทำให้สามารถปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ OEE เป็นส่วนหนึ่งของระบบ MES (Manufacturing Execution System) ที่มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าของธุรกิจ

การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเป็นสิ่งจำเป็นในยุคของการแข่งขันที่รุนแรง OEE หรือ Overall Equipment Effectiveness ช่วยให้โรงงานสามารถมองเห็นและวิเคราะห์จุดอ่อนในกระบวนการผลิต ทำให้สามารถปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดค่า OEE นั้นเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และการที่คุณได้รู้ถึงเหตุผลของความสูญเสียนั้นจะทำให้คุณมีความเข้าใจและมีแนวทางของการปรับปรุงกระบวนการผลิตของคุณให้ดียิ่งขึ้นอย่างเป็นระบบ

 

OEE เป็นดัชนีการผลิตดีที่สุดสำหรับการวินิจฉัยปัจจัยของความสูญเสีย ตั้งเกณฑ์มาตรฐานไว้วัดสถานะ และปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เวลาที่เราตรวจร่างกายเราก็ต้องการที่จะรู้ว่าค่าน้ำตาลของเราอยู่ที่ไหน ค่าคอเลสเตอรอลของเราอยู่ที่เท่าไหร่แล้ว เพื่อประเมินถึงสุขภาพของตัวเรา ในการผลิตก็เช่นกัน ถ้าเราอยากจะรู้ว่าอุปกรณ์ของเราที่ใช้ในการผลิตนั้นผลิตได้ดีแค่ไหนได้ดีแค่ไหนเราก็จะต้องคำนวณวัดค่า OEE ของตัว เครื่องจักร ไลน์ผลิต และโรงงาน

องค์ประกอบของ OEE

OEE ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การใช้งาน (Availability), ประสิทธิภาพ (Performance), และคุณภาพ (Quality)

  1. การใช้งาน (Availability): การใช้งานวัดจากเวลาที่อุปกรณ์สามารถใช้งานได้จริงเทียบกับเวลาที่วางแผนไว้ หากอุปกรณ์มีเวลาหยุดทำงานสูง ค่า Availability ก็จะต่ำ
    • ตัวอย่าง: หากเครื่องจักรมีปัญหาบ่อย อาจต้องพิจารณาการบำรุงรักษาที่สม่ำเสมอ
  2. ประสิทธิภาพ (Performance): ประสิทธิภาพวัดจากความเร็วของการผลิตเทียบกับความเร็วที่วางแผนไว้ หากการผลิตช้ากว่าที่คาดไว้ ประสิทธิภาพก็จะลดลง
    • ตัวอย่าง: หากการผลิตช้าลงเพราะวัตถุดิบมีปัญหา อาจต้องพิจารณาปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบหรือการจัดหา
  3. คุณภาพ (Quality): คุณภาพวัดจากจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเทียบกับจำนวนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด หากมีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานสูง ค่า Quality ก็จะต่ำ
    • ตัวอย่าง: หากพบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพบ่อยครั้ง ควรตรวจสอบกระบวนการผลิตเพื่อหาสาเหตุและแก้ไข

ประโยชน์ของ OEE

OEE มีประโยชน์หลายประการสำหรับการผลิต:

  • ระบุปัญหา: ช่วยระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพ: ช่วยให้เห็นภาพรวมของประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักร
  • เพิ่มคุณภาพ: ช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  • ลดต้นทุน: ช่วยลดต้นทุนในการผลิตโดยการเพิ่มประสิทธิภาพ

OEE ที่ 100% หมายความว่า:

  • ไม่มีเวลาที่หยุดเลย (Stop Time)
  • ผลิตได้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
  • ที่คุณผลิตนั้นมีแต่ Good Parts

ในภาษาของ OEE นั่นหมายความว่า

  • 100% Availability – ไม่มีเวลาที่หยุดเลย
  • 100% Performance – ผลิตได้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
  • 100% Quality – มีแต่ Good Parts

การวัดค่า OEE นั้นเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และการที่คุณได้รู้ถึงเหตุผลของความสูญเสียนั้นจะทำให้คุณมีความเข้าใจและมีแนวทางของการปรับปรุงกระบวนการผลิตของคุณให้ดียิ่งขึ้นอย่างเป็นระบบ

OEE เป็นดัชนีการผลิตดีที่สุดสำหรับการวินิจฉัยปัจจัยของความสูญเสีย ตั้งเกณฑ์มาตรฐานไว้วัดสถานะ และปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

เวลาที่เราตรวจร่างกายเราก็ต้องการที่จะรู้ว่าค่าน้ำตาลของเราอยู่ที่ไหน ค่าคอเลสเตอรอลของเราอยู่ที่เท่าไหร่แล้ว เพื่อประเมินถึงสุขภาพของตัวเรา ในการผลิตก็เช่นกัน ถ้าเราอยากจะรู้ว่าอุปกรณ์ของเราที่ใช้ในการผลิตนั้นผลิตได้ดีแค่ไหนได้ดีแค่ไหนเราก็จะต้องคำนวณวัดค่า OEE ของตัว เครื่องจักร ไลน์ผลิต และโรงงาน 

3 องค์ประกอบของ OEE Availability, Performance, Quality

A - Availability

Availability คำนึงถึง Unplanned Stop และ Planned Stop

  • Unplanned Stop – คือการหยุดโดยที่ไม่ได้วางแผนเนื่องจากเหตุการณ์อาทิเช่นเครื่องจักรมีปัญหา หรือการขาดวัตถุดิบในการผลิต
  • Planned Stop – คือการหยุดแบบที่มีอยู่ในแผนงานอาทิเช่น Changeover หรือการเซ็ทอัพอุปกรณ์

Availability = 100% หมายความว่ากระบวนการผลิตนั้น Run อยู่ตลอดเวลาที่มีในกำหนดการ อาทิเช่นกะการผลิต

P - Performance

Performance นั้นคำนึงถึง Slow Cycles และ Small Stops 

  • Slow Cycles – ไซเคิลของการผลิตที่นานกว่าปกติแต่ยังไม่ถึงเป็นการหยุดแบบ Small Stop
  • Small Stop – เป็นการหยุดช่วงสั้นๆที่ไม่ได้นานพอที่จะนับเป็นเวลาหยุด (Stop Time)

Performance = 100% หมายความว่าความเร็วของการผลิตนั้นทำได้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

Q - Quality

Quality คำนึงถึง defects (NG) และ part ที่ต้อง rework

Quality = 100% หมายความว่าการผลิตนั้นไม่มี Bad Part (NG) เลยและ มีแต่ Good Parts

เรียนรู้เกี่ยวกับ 3 องค์ประกอบของ OEE Availability, Performance, Quality และเข้าใจถึงความสูญเสียที่มีผลกระทบกับประสิทธิผลของการผลิต

OEE คือการประมวลประสิทธิภาพจาก Planned Production Time.

Planned Production time – หรือเวลาการผลิตที่ได้วางแผนไว้คือเวลาทั้งหมด ทุกวันและทุกเวลา (24 ชั่วโมงและ 7 วันต่ออาทิตย์) ที่หักลบ Schedule Loss

ตัวอย่างของ Schedule Loss คือเวลาที่ไว้พัก นอน ทานข้าว Shutdown วันหยุดต่างๆ

 

OEE นั้นไม่ได้คำนึงถึง Schedule Loss เพราะว่าไม่ใช่เวลาที่เราตั้งใจที่จะใช้ผลิต แต่ Schedule Loss นั้นรวมอยู่ในเวลาที่เอาไว้คำนวณ TEEP – Total Effective Equipment Performance ซึ่งเป็นอีกดัชนีหนึ่งของการผลิต

OEE เริ่มจาก Planned Production time และหักลบปัจจัยที่กระทบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดขึ้นจากความสูญเสีย ปัจจัยหลัก 3 อย่างของ OEE  ที่กระทบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก็คือ Availability, Performance, และ Quality

Availability ความพร้อมใช้งาน

Availability นั้นคำนึงถึงเวลาที่สูญเสียไปเนื่องจากความไม่พร้อมใช้งาน Availability Loss ที่เกิดจากเหตุการณ์อะไรก็ตามที่ทำให้การผลิตหยุดในเวลาการผลิตที่ได้วางแผนไว้

ตัวอย่างของ  เช่น การหยุดโดยที่ไม่ได้วางแผน (Unplanned Stop) เนื่องจากเหตุการณ์อาทิเช่นเครื่องจักรมีปัญหา หรือการขาดวัตถุดิบในการผลิต และ การหยุดแบบที่มีอยู่ในแผนงาน (Planned Stop) อาทิเช่น Changeover หรือการเซ็ทอัพอุปกรณ์

หักลบเวลาความไม่พร้อมใช้งาน Availability Loss ออกจากเวลาการผลิตที่ได้วางแผนไว้ (Planned Production Time) จะทำให้ได้สิ่งที่เรียกว่า Run Time หรือ เวลาที่เดินการผลิต

Performance ประสิทธิภาพ

Performance นั้นคำนึงถึงเวลาที่สูญเสียไปเนื่องจาก ประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง (Performance Loss) ก็คืออะไรที่ทำให้ความเร็วของการผลิตนั้นลดลงจากความเร็วการผลิตแบบปกติ ซึ่งก็รวมถึงไซเคิลของการผลิตที่นานกว่าปกติ (Slow Cycles) และการหยุดช่วงสั้นๆ (Small Stop) ที่ไม่ได้นานพอที่จะนับเป็นเวลาหยุด (Stop Time)

ตัวอย่างของสิ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง ได้แก่การสึกหรอของเครื่องจักร วัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำ การป้อนชิ้นงานผิด (missfeed) และ เครื่องจักรแจม (jams)

หักลบเวลาที่สูญเสียไปจากประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง (Performance Loss) ออกจาก Run Time จะได้ Net Run Time หรือ เวลาที่เดินการผลิตสุทธ

Quality คุณภาพ

Quality นั้นคำนึงถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก Part ที่ผลิตแล้วไม่ได้คุณภาพ (Quality Loss)

ตัวอย่างสิ่งที่ผลิตแล้วไม่ได้คุณภาพอาทิเช่น Bad Part (NG) หรือ Part ที่ต้องมีการ Rework

นิยามของ Good Part สำหรับคุณภาพ (Quality) ใน OEE นั้นคือ Part ที่สามารถผลิตได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยในครั้งแรกของกระบวนการผลิต (First Part Yield) โดยที่ไม่จำเป็นต้องมี rework

เวลาที่เหลือหลังจากที่หักลบเวลาที่สูญเสียไปในการผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพนั้นเรียกว่า Fully Productive Time หรือ เวลาที่ได้ผลผลิตเต็มที่

OEE - Overall Equipment Effectiveness

OEE เป็นเปอร์เซ็นต์ ที่มาจากเวลาที่ได้ผลผลิตเต็มที่ Fully Productive Time หารด้วยเวลาของการผลิตที่ได้วางแผนไว้ (Planned Production time)

OEE Calculation คำนวณค่า OEE ด้วยสูตรใน Excel

เสริมความเข้าใจด้วยตัวอย่างการคำนวณค่า OEE ด้วยสูตรใน Excel ให้ดูกันครับ อธิบายอย่างละเอียดพร้อมลิงค์ไปที่ตัวไฟล์ Excel สูตรการคำนวณค่า A, P, Q และ OEE

การวัด OEE

OEE=Availability×Performance×Quality


 

Google Sheet link กด File >> Download

OEE ในระบบ MES

OEE เป็นส่วนหนึ่งของระบบ MES (Manufacturing Execution System) ที่ช่วยในการวางแผนและควบคุมกระบวนการผลิต ระบบ MES ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูล OEE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตได้ในเวลาจริง การรวม OEE กับ MES ทำให้ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน MES สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล OEE ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้ผลิตสามารถตัดสินใจปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างทันเวลา

ข้อดีของการใช้ MES ร่วมกับ OEE:

  • การตรวจสอบประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์
  • การลดเวลาหยุดทำงานและเพิ่มความพร้อมในการผลิต
  • การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

วิธีการปรับปรุง OEE

การปรับปรุง OEE สามารถทำได้โดยการเน้นไปที่การปรับปรุงองค์ประกอบทั้งสาม ได้แก่ การใช้งาน, ประสิทธิภาพ, และคุณภาพ

  1. การปรับปรุงการใช้งาน (Availability):

    • ลดเวลาหยุดทำงานที่ไม่ได้วางแผนไว้
    • ปรับปรุงกระบวนการบำรุงรักษา
  2. การปรับปรุงประสิทธิภาพ (Performance):

    • เพิ่มความเร็วในการผลิต
    • ลดเวลาที่สูญเสียในกระบวนการ
  3. การปรับปรุงคุณภาพ (Quality):

    • ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ
    • ลดของเสียในการผลิต

OEE เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับการดำเนินการผลิตที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการเข้าใจและนำ OEE ไปใช้ ผู้ผลิตสามารถระบุและขจัดคอขวด ลดเวลาหยุดทำงาน และปรับปรุงคุณภาพการผลิตโดยรวม เมื่ออุตสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันสูงขึ้น การใช้ OEE จะให้ประโยชน์อย่างมากโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์และกระบวนการของคุณ

การนำ OEE ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพต้องการการดำเนินการที่เป็นระบบและการมุ่งมั่นในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยการมุ่งเน้นไปที่การใช้งาน, ประสิทธิภาพ, และคุณภาพ และการใช้เครื่องมือและกลยุทธ์ในการวัดและปรับปรุงองค์ประกอบเหล่านี้ ผู้ผลิตสามารถบรรลุการปรับปรุงอย่างมากในการดำเนินการของพวกเขา

หากคุณพร้อมที่จะยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของคุณไปอีกขั้น ติดต่อ Appomax เพื่อขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและโซลูชันที่นวัตกรรมที่เหมาะกับความต้องการของคุณ เรามาร่วมกันปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของความสามารถการผลิตของคุณ